ข้อปฏิบัติที่ผู้เริ่มสร้างกล้ามเนื้อเพาะกายควรรู้

ผู้ที่กำลังเริ่มสร้างกล้ามเนื้อ อาจยังไม่มีความรู้และประสบการณ์ในการสร้างกล้ามเนื้อเพาะกายที่เพียงพอ หรือ บางทีอาจรับรู้ข้อมูลที่ผิดๆมา

ข้อปฏิบัติที่ผู้เริ่มสร้างกล้ามเนื้อเพาะกายควรรู้

สิ่งที่ผู้เริ่มสร้างกล้ามเนื้อเพาะกาย ไม่ควรทำมีดังต่อไปนี้

  • ฝึกซ้อม มากกกว่า 2 ครั้งต่อ สัปดาห์ – นั้นหมายความว่า การเริ่มต้นของคุณ อยู่ที่ การฝึกซ้อม 2 ครั้งต่อสัปดาห์ก็เพียงพอแล้ว ท่องเอาไว้ในใจคุณคือผู้เริ่มต้น ให้ฝึกซ้อมแบบค่อยเป็นค่อยไป
  • หากคุณต้องการเริ่มต้นด้วยการฝึกกับน้ำหนัก คุณควรมั่นใจว่าร่างกายของคุณแข็งแรง และไม่มีปัญหากับอาการบาดเจ็บที่รุนแรงมาก่อน ให้เริ่มกับน้ำหนักที่น้อย แต่ให้เพิ่มรอบที่ทำ เช่น อย่าเริ่มฝึกกับการยกดัมเบลล์ ที่มีน้ำหนักมากทันทีเลย เลย เริ่มกับน้ำหนักน้อย แต่เพิ่มรอบให้นานขึ้น จากนั้นค่อยๆเพิ่มน้ำหนัก ควบคู่กับรอบที่ฝึกไปเรื่อยๆ
  • เลือกรับประทานอาหารให้เป็น สำหรับผู้เริ่มต้นแล้วอาจยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหารที่ช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ ผู้เริ่มต้นหลายคน อยากกินอะไรก็กิน เน้นอาหารที่ให้พลังงาน ซึ่งจริงๆแล้ว อาหารที่ผู้เริ่มต้นสร้างกล้ามเนื้อควรจะรับประทานมีดังต่อไปนี้ โปรตีน ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน ผง เช่น เวย์ โปรตีน ( Whey Protien ) หรือ โปรตีนที่ได้จาก เนื้อแดง, ปลาทูน่า, ไข่ขาว หรือ โปรตีนจากนม สำหรับคนที่ไม่มีเวลาการที่จะมานั่งทำอาหารถือว่าเป็นเรื่องยากเหมือนกัน ดังนั้น การเสริมอาหารด้วย เวย์ โปรตีน ( Whey Protien ) ทุกวัน ถือว่าเป็นทางเลือกที่ฉลาดทีเดียว
  • อย่าฝึกหนักเกินไป คุณอาจเหลือบไปเห็น ผู้ชายกล้ามโตคนหนึ่งกลังยกน้ำหนักอยู่ แล้วคุณก็ลอกเลียนแบบทัน คุณต้องจำให้ดีว่า รูปแบบการฝึก หรือ โปรแกรมการฝึก สำหรับทุกคนไม่เหมือนกัน การที่คุณเลือกที่จะเพิ่มน้ำหนักทันที อาจส่งผลกระทบต่อการสร้างกล้ามเนื้อของคุณ เพราะ คุณจำเป็นต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสำหรับ คนที่ฝึกหนักรับประทานก่อน ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ฝึกหนักอยู่เป็นประจำมักจะมีโปรแกรมการกินอาหารที่ต้องเพิ่มปริมาณแคลลอรี่ในตารางรวมอยู่ด้วย จำไว้ให้ดีว่า ก้มหน้าก้มตา เพิ่มน้ำหนักอย่างเดียว เป็นความคิดที่ผิดมากๆ
  • ออกกำลังกาย แบบต่างๆ อย่างน้อย 6-7 แบบ เช่น การเน้นการฝึกเฉพาะส่วน ไม่ว่าจะเป็น หลัง, แขน , หน้าอก หรือ ว่า ฝึกกับดัมเบลล์ เป็นต้น
  • บันทึกตารางฝึกของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ อย่าฝึกหนัก แต่ให้ฝึกนาน ความหมายก็คือ อย่าฝึกกับน้ำหนักมาก แต่ใช้เวลาน้อย ให้ฝึกกับน้ำหนักน้อยแต่ใช้เวลามากแทน
  • พยายามนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนหมายถึง การฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อ และ การฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อ หมายถึง การสร้างกล้ามเนื้อ
  • อย่าตั้งความหวังสูงเกินไป อย่าคิดว่าตัวเองจะเป็นเหมือนนายแบบเพาะกายในแมกกาซีน สุขภาพ เพราะนั้นคือการสร้างความกดดัน และความเครียดให้กับตัวเอง แน่นอนที่สุดมันกระทบถึงการสร้างกล้ามเนื้อของคุณอย่างแน่นอน

ชอบบทความนี้หรือเปล่าค่ะ?

คลิกที่รูปหัวใจเพื่อโหวต!

คะแนนเฉลี่ย / 5. คะแนนโหวต:

ยังไม่มีโหวต! โหวตเป็นคนแรก

คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ไหมค่ะ...

โปรดติดตามเราทางโซเซียลมีเดีย!

ขอโทษที่คุณไม่ชอบบทความนี้!

ให้เราพัฒนาบทความนี้ให้ดีขึ้น!

เราจะสามารถทำให้บทความนี้น่าสนใจอย่างไร?

Subscribe
Notify of
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 www.tipsfitness.net จำกัด
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x