เคล็ดลับนอนหลับง่ายจากทั่วโลก เปิด 5 วิธีช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น

ทำอย่างไงก็นอนไม่หลับ ออกกำลังกาย ทานอาหารหลากหลาย ก็ช่วยไม่ได้เลย ใครที่กำลังเผชิญกับปัญหานอนไม่หลับ หรือนอนแบบหลับๆตื่นๆ 5 เคล็ดลับนอนหลับง่ายจากทั่วโลก อาจช่วยได้นะ พร้อมด้วยคำแนะนำเกี่ยวกับการนอนอื่นๆอีกหลายวิธี การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ มีผลต่อสุขภาพ และ ผิวพรรณของเรามากๆเลย อยากผิวสวย สุขภาพดี ต้องนอนให้เต็มที่นะ

เคล็ดลับนอนหลับง่ายจากทั่วโลก

ใครบ้างที่ต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงกว่าจะนอนหลับ? คนที่หัวถึงหมอนก็หลับได้เลย จะไม่มีวันเข้าใจว่าการนอน เป็นเรื่องที่ทรมานสุดๆสำหรับอีกหลายๆคน บางคนนอกจากนอนหลับยากแล้ว ยังต้องเผชิญกับอาการนอนหลับไม่สนิท หรือหลับๆ ตื่นๆ ใครที่เป็นแบบนี้ ลองไปเช็ค “เคล็ดลับนอนหลับง่ายจากทั่วโลก” ดูสิว่าชาวโลกเค้าวิธีทำอย่างไรให้หลับได้เร็วขึ้น

5 วิธีช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นจากทั่วโลก

1 – อินเดีย

Ashwagandha โสมอินเดีย

ชาวอินเดียนิยมรับประทาน Ashwagandha (โสมอินเดีย) เพื่อช่วยให้หลับได้ดีขึ้น  โสมอินเดียถือเป็นพืชสมุนไพรใช้ในอายุรเวท มายาวนานหลายพันปีแล้ว

ในปี 2020 มีการทดลองโดยการสุ่มตัวอย่างในกลุ่มผู้ทดลอง 150  คน ซึ่งทั้งหมดมีสุขภาพแข็งแรง โดยให้รับประทานโสมอินเดีย ในปริมาณ 120 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลาติดต่อกัน 6 สัปดาห์ พบว่า แต่ล่ะคนสามารถหลับได้เร็วขึ้น นอนหลับได้นานขึ้น และมีสุขภาพที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามก่อนที่จะรับประทานพืชสมุนไพร หรือ อาหารเสริมใดๆ เพื่อช่วยในการนอนหลับ เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอ

2 – จีน

Jujube fruit พุทรา

Jujube fruit หรือ พุทรา คือผลไม้ที่ชาวจีนเชื่อว่ามีสารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการนอนหลับ คือ Saponins และ Flavonoids ซึ่งมีส่วนช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย หลับได้เร็ว และนานขึ้น เขามีการทดลองในคลินิกโดยให้กลุ่มผู้ทดลองกินพุทราแคปซูล ในปริมาณ 200 มิลลิกรัม วันล่ะ 2 ครั้ง เป็นเวลาติดต่อกัน 21 วัน พบว่ากลุ่มที่กินพุทราแคปซูล นอนหลับได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กิน

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะรับประทานพืชสมุนไพร หรือ อาหารเสริมใดๆ เพื่อช่วยในการนอนหลับ เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอ

3 – สวีเดน

Välling เครื่องดื่มทำจากข้าวโอ๊ตผสมกับนม

ชาวสวีเดนนิยมดื่ม Välling ก่อนนอน เพื่อช่วยให้หลับได้ดีขึ้น Välling  เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพทำจากข้าวโอ๊ต ผสมกับนม  นมอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด อาทิ แมกนีเซียม, ทริปโตเฟน (Tryptophan), เมลาโทนิน (Melatonin) และ เซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่ง เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นสารที่มีส่วนช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น แต่นี้เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้นเองนะ ยังไม่ได้มีงานวิจัยที่เป็นทางการมารองรับแต่อย่างใด

4 – ญีปุ่น

Shikibuton ฟูกนอนแบบญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า จะนอนหลับได้เร็ว สบาย หลับลึกตลอดทั้งคืนต้องนอนบนที่นอนคุณภาพ Shikibuton (Japanese futon mattress) หรือ ฟูกนอนแบบญี่ปุ่นจึงถูกยกให้เป็นตัวช่วยในเรื่องของการนอนหลับไปโดยปริยาย Shikibuton ส่วนใหญ่ทำมาจากผ้าฝ้าย มีความนุ่มแน่น นอนสบายเป็นที่สุด Shikibuton ไม่เพียงช่วยให้หลับสบายเท่านั้น แต่ยังช่วยให้สุขภาพดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีงานวิจัยมากนักเกี่ยวกับเรื่องฟูกนอน Shikibuton ว่าสามารถช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นจริงๆหรือเปล่า งานนี้ใครอยากรู้ คงต้องทดสอบด้วยตัวเองแล้วแหล่ะ

5 – ฟินแลนด์

การอบซาวน่า Sauna Steam

ชาวฟินแลนด์เชื่อว่าการอบซาวน่า (Sauna Steam) ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะะช่วยให้เราหลับได้ดีขึ้น เพราะซาวน่าจะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว รู้สึกปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย เลือดสูบฉีดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆได้ดีขึ้น ส่งผลให้เรานอนหลับได้ดีขึ้นไปโดยปริยาย  พวกเขามักจะทำซาวน่าช่วยเย็นๆ เพื่อไล่ความเหนื่อยล้า

นอกจาก 5 วิธี ดั่งกล่าวแล้ว ยังมีเคล็ดลับช่วยให้หลับได้ดีขึ้นอื่นๆ เช่น การดื่มชาคาโมมายล์ (Chamomile Tea)  เป็นประจำ รวมถึงการบำบัดอาการนอนไม่หลับด้วยน้ำมันหอมระเหยกลิ่นต่างๆ  ในขณะที่บางคนอาจต้องรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยการทานยานอนหลับ รวมถึงอาหารเสริมต่างๆ อาทิ อาหารเสริม Melatonin ซึ่งถูกยกให้เป็นยานอนหลับที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขว้าง เพราะถูกมองว่านอกจากจะช่วยทำให้หลับได้ดีขึ้นแล้ว ยังไม่เป็นอันตรายต่อ่างกาย

การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ หลับเร็ว หลับลึก หลับนาน มีความสำคัญต่อสุขภาพหลายประการเลยทีเดียว มีส่วนทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย และยังมีผลทำให้ผิวพรรณสุขภาพดี สดใส อ่อนเยาว์ ไม่หมองคล้ำ การนอนอย่างมีคุณภาพยังมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักอีกด้วย

ใครที่มีปัญหานอนไม่หลับ ควรเริ่มหาทางแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ เบื้องต้นเริ่มด้วยการรับประทานอาหารที่หลากหลาย ควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ถ้ายังมีอาการนอนไม่หลับ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษา เพราะการนอนสำคัญกว่าที่เราคิด

อ้างอิงข้อมูลเคล็ดลับนอนหลับง่าย : www.healthline.com

ชอบบทความนี้หรือเปล่าค่ะ?

คลิกที่รูปหัวใจเพื่อโหวต!

คะแนนเฉลี่ย / 5. คะแนนโหวต:

ยังไม่มีโหวต! โหวตเป็นคนแรก

คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ไหมค่ะ...

โปรดติดตามเราทางโซเซียลมีเดีย!

ขอโทษที่คุณไม่ชอบบทความนี้!

ให้เราพัฒนาบทความนี้ให้ดีขึ้น!

เราจะสามารถทำให้บทความนี้น่าสนใจอย่างไร?

Subscribe
Notify of
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x