วิธีสร้างกล้าม เพาะกาย ภายใต้งบประมาณที่จำกัด
กว่าจะมีรูปร่าง และ สร้างกล้ามเพาะกายขึ้นมาได้ตามที่ต้อ […]
กว่าจะมีรูปร่าง และ สร้างกล้ามเพาะกายขึ้นมาได้ตามที่ต้องการ งบประมาณที่หมดไปใช่ว่าจะน้อย ไหนจะค่าอาหารเสริม ค่าสมาชิกฟิตเนส ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม หรือ บางคนถึงกับทำห้องฟิตเนสไว้ที่บ้านเองเลย สำหรับคนที่มีงบอยู่แล้วก็คงไม่ใช่เรื่องใหญ่สักเท่าไหร่นัก แต่สำหรับคนที่ไม่มีงบอาจจะเป็นเรื่องยากสักหน่อย เพราะว่า การสร้างกล้ามเนื้อเพาะกาย หัวใจสำคัญอยู่ที่การออกกำลังกาย และ สารอาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละวัน
การสร้างกล้ามเนื้อด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพ
หากต้องการสร้างกล้ามเนื้อเพาะกายให้เกิดประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วเราต้องการพลังงาน ประมาณ 4,500-5,200 แคลอรี่ ( สำหรับผู้ชาย ) และเราต้องรับประทานอาหารประมาณ 5-7 มื้อ ต่อวัน ( รับประทานบ่อยๆแต่รับประทานทีละน้อย) หลายคนลองคำนวณดูแล้วได้แต่ถอดใจ ประมาณว่า ใครจะไปมีเวลากิน 5-7 ครั้งต่อวัน และต้องเลือกกินอาหารดีๆด้วย จะเอาเงินที่ไหนไปซื้อกิน
คนที่มีงบน้อยทั้งหลายอย่าพึงถอดใจ ลองมาดูเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆที่คุณอาจมองข้าม แต่สิ่งเหล่านี้จะช่วยคุณประหยัดเงินในกระเป๋าได้มากขึ้น และสามารถประหยัดเงินในระยะยาวได้อีกด้วย
หากคุณต้องการสร้างกล้ามอย่างจริงจัง อย่างแรกที่คุณต้องคำนึ่งคืออาหาร ดังนั้น อุปกรณ์ทำอาหารหลักๆที่คุณต้องมีไว้ประจำมีดังต่อไปนี้
- เตาย่างไฟฟ้า – ส่วนใหญ่เราต้องกินอาหารประเภท ปิ้ง หรือ ย่าง เช่น ย่างเนื้ออกไก่ ย่างปลา เป็นต้น เนื้ออกไก่ที่ผ่านการย่างสามารถนำมาทำอาหารได้หลายเมนู เช่น ลาบเนื้ออกไก่ ยำ พร่า และเรายังสามารถเก็บไว้กินได้ทั้งวัน
- ไมโครเวฟ หรือ เตาอบ – เราสามารถใช้อบอาหารบางประเภท เช่น อบมันเทศ อบครั้งเดียวแต่กินได้ทั้งวัน ที่สำคัญมันเทศบ้านเราก็หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป มันเทศให้พลังงานสูง และ เหมาะสำหรับรับประทานก่อนออกกำลังกาย เราสามารถหั่นเป็นชิ้นๆขนาดเดียวกันกับที่จะทำเฟรนฟราย และนำไปอบ ทั้งนี้เราสามารถพกไปทานที่ทำงาน หรือ ที่ไหนก็ได้ ถือเป็นอาหารมื้อย่อยที่ให้พลังงานสูงอีกมื้อหนึ่่ง
- หม้อหุงข้าว – ประเทศเรากินข้าวเป็นอาหารหลักอยู่ โดยทั่วไปทุกบ้านก็จะมีหม้อหุงข้าวประจำบ้านอยู่แล้ว สำหรับนักเพาะกาย หากชอบรับประทานข้าวกล้องจะดีมากๆ เพราะข้าวกล้องมีประโยชน์ต่อการสร้างกล้ามเนื้อมาก
อาหารนักเพาะกาย
ไข่, เนื้ออกไก่, ฟักทอง, เนื้อไม่ติดมัน, ปลา , มันเทศ ,แตงกวา, มะเขือเทศ, แครอท, กล้วย ,ถัวเมล็ดแห้งต่างๆ (ยอดอาหารว่างของนักเพาะกาย) นม (นมสดไขมันต่ำ, นมถั่วเหลือง ) ข้าวโอ๊ต, ข้าวกล้อง
ตัวอย่าง อาหารใน 1 วัน
- มื้อแรก: เริ่มมื้อเช้าด้วยข้าวโอ๊ต + นม
- มื้อที่2 : ข้าวกล้อง + เนื้ออกไก่ย่าง
- มื้อที่3: มันเทศอบ อาหารว่างแบบเบาๆ
- มื้อที่4: นม + กล้วย
- มื้อที่5: ข้าว + ปลานึ่ง
- มื้อที่ 6: ฟักทองนึ่ง + นม
- มื้อที่ 7: ข้าวกับเนื้อย่าง
ถ้าเรามีการวางแผนเมนูไว้ล่วงหน้า เชื่อเหลือเกินว่า จะทำให้เรากินอาหารได้ครบมื้อตามที่กำหนดไว้ และ ได้พลังงานเพียงพอต่อการเพาะกาย