5 วิธีลดบวมโซเดียมแบบง่ายๆ แต่ได้ผลลัพธ์ดีมาก

สงสัยว่าตัวบวมเพราะโซเดียม ต้องทำแบบนี้นะ! พบกับ หลากวิธีลดบวมโซเดียมแบบง่ายๆ ! รู้ไหมว่าร่างกายของเรากำจัดโซเดียมออกมา 3 ทาง ด้วยกัน คือ ขับออกมาพร้อมกับเหงื่อ ขับออกมาพร้อมกับอุจจาระ และขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ยังมีอาหารอีกหลายประเภทที่มีส่วนช่วยลดปริมาณการสะสมของโซเดียมในร่างกาย ไปดูกันเลยคะ

วิธีลดบวมโซเดียม

เคยเป็นไหมพยายามลดแป้ง ลดไขมัน แบบสุดๆ แต่น้ำหนักยังคงเท่าเดิม พ่วงมาด้วยตัวบวมแฉ่ง อาจเป็นเพราะกินโซเดียมมากเกินไปก็เป็นได้นะ ใครที่ชอบทานขนมคบเคี้ยว รวมถึงอาหารที่เข้มข้นไปด้วย น้ำปลา เกลือ ปลาร้ารวมถึงซอสปรุงรสต่างๆ มีแนวโน้มของการสะสมโซเดียมไว้ในร่างกายมากเกินไป ส่งผลเสียต่อร่างกายหลายประการเลยทีเดียว แบบนี้ต้องรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เพื่อลดการสะสมของโซเดียมในร่างกายแล้วนะ ใครที่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร เรามีวิธีลดการสะสมโซเดียมในร่างกายมาแชร์ด้วย พบกับ “หลากวิธีลดบวมโซเดียมแบบง่ายๆ แต่ได้ผลลัพธ์ดีมาก”

5 วิธีลดบวมโซเดียม (Sodium) ที่ได้ผลแบบสุดๆ

1 – เพิ่มการกินอาหารที่อุดมด้วยโพแทสเซียม (Potassium)

อาหารที่อุดมด้วยโพแทสเซียม (Potassium)

โพแทสเซียมมีส่วนช่วยลดปริมาณโซเดียมในร่างกายของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยรักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันเลือด พร้อมรักษาสภาวะน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยป้องกันภาวะบวมน้ำได้อีกด้วย เมื่อร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณมากๆ เพื่อลดการสะสมของโซเดียม เราควรกินอาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอ

อาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม อาทิ ถั่วต่างๆ ส้ม กล้วย มะเขือเทศ มันฝรั่ง อะโวคาโด และ สตอเบอรี่

หลังจากกินส้มตำปูปลาร้า หรือ อาหารที่เข้มข้นไปด้วยเครื่องปรุงรส ควรกิน ผลไม้ประเภท ส้ม กล้วย อะโวคาโด หรือ สตอเบอรี่ ให้เพียงพอ

2 – ปรุงอาหารด้วยเกลือสูตรลดโซเดียม (Low Sodium Salt)

เกลือสูตรโซเดียมต่ำ (Low Sodium Salt)

หลายคนเลยนะที่ทานอาหารรสเค็มจัดแบบไม่รู้ตัว ชอบมากกับการซดน้ำแกง เมนูไหนก็ตาม ที่มาพร้อมกับเครื่องปรุงรสประเภท  ผงชูรส ซุปก้อน น้ำมันหอย กะปิ  ซีอิ๊ว น้ำปลา บอกเลยว่าปริมาณโซเดียมเจือปนอยู่สูงมาก หากปรุงอาหารเองลองใช้ เกลือสูตรโซเดียมต่ำ (Low Sodium Salt) แทนเกลือทั่วไป หรือ พยายามลดการทานน้ำซุป น้ำแกง เพราะโซเดียมจะไปรวมตัวกันอยู่ใน น้ำซุป หรือ น้ำแกง ของเราเยอะมากๆ อีกหนึ่งวิธีลดน้ำหนัก และ ลดอาการบวมได้ดีแบบสุดๆคือ การกินอาหารคลีน (Clean Food)  หรือ การกินแบบ DASH diet การกินแบบนี้จะช่วยควบคุมปริมาณโซเดียม เป็นรูปแบบการกินที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นดันโลหิตสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ DASH diet คืออะไร ?  ช่วยลดความดันโลหิตสูงได้อย่างไร

3 – เน้นทานผักผลไม้ที่ช่วยลดโซเดียม

อาหารลดโซเดียม

ผักผลไม้ประเภทที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบเยอะๆ อาทิ แตงกวา แตงโม ส้ม ผักกาด ผักสลัด และ แอปเปิ้ล จะช่วยเพิ่มปริมาณของเหลวในร่างกาย ช่วยขจัดสารพิษ รวมถึงปริมาณน้ำส่วนเกินในร่างกาย ป้องกันภาวะบวมน้ำได้เป็นอย่างดี

4 – ดื่มน้ำอย่างน้อย 8 – 12 แก้วต่อวัน

วิธีลดโซเดียม

วิธีกำจัดโซเดียมที่ง่ายที่สุดคือ การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ล่ะวัน เพื่อให้ไตช่วยกำจัดโซเดียมส่วนเกินออกไปพร้อมกับปัสสาวะ เอาจริงๆ สภาพร่างกายแต่ล่ะคน รวมถึง เพศ อายุ จะมีความต้องการปริมาณน้ำที่แตกต่างกันออกไป บางคนดื่มประมาณ 1.5 ลิตร ต่อวัน ก็เพียงพอ สำหรับบางคน อาจต้องดื่มมากกว่านี้ แต่มีคำแนะนำว่า ถ้าวันไหนที่เรารู้สึกว่าเราทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง เราควรดื่มน้ำอย่างน้อยประมาณ 12 แก้ว ต่อวัน เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดโซเดียมส่วนเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5 – ทำกิจกรรมที่ต้องเสียเหงื่อ

วิธีลดบวมโซเดียมแบบง่ายๆ

ทุกกิจกรรมที่เสียเหงื่อ ล้วนมีส่วนช่วยลดปริมาณการสะสมของโซเดียมในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการออกกำลังกาย  กล่าวคือ ในขณะที่เราออกกำลังกาย ร่างกายมีการใช้พลังงานมากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น กลไกร่างกายจะมีการระบายความร้อนด้วยการขับเหงื่อออกมาทางผิวหนัง เพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายให้เป็นปกติ ซึ่งโซเดียมก็จะถูกขับออกมาพร้อมกับเหงื่อด้วย มีหลายรูปแบบของการออกกำลังกายที่ช่วยขับเหงื่อได้เป็นอย่างดี อาทิ คาร์ดิโอ เวทเทรนนิ่ง (Weight Training) ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และวิ่ง เหงื่อไม่เพียงแต่ช่วยขับโซเดียมนะ ยังช่วยขับสารพิษต่างๆที่ตกค้างในผิวหนัง อาทิ ตะกั่ว ปรอท รวมถึง ฝุ่นละอองต่างๆ ช่วยดีท็อกซ์ผิว ทำให้ผิวสวยใส ไม่หมองคล้ำ อีกด้วย

โซเดียมจะถูกขับออกจากร่างกายได้อย่างไร?

กลไกร่างกายของเราจะขับโซเดียมส่วนเกินออกมา 3 ทาง คือ

  • ขับออกมาพร้อมกับเหงื่อ
  • ขับออกมาพร้อมกับอุจจาระ
  • ขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ

โซเดียมไม่เพียงทำให้เกิดภาวะตัวบวมเท่านั้นนะ แต่ยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิด อาทิ โรคไต โรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน

เคล็ดลับควบคุมปริมาณการกินโซเดียม

ลดปริมาณเครื่องปรุงรสแบบเข้มข้นในอาหาร  ลดการกินน้ำแกง น้ำซุป ลดการกินอาหารคบเคี้ยว ดื่มน้ำให้เยอะๆ ออกกำลังกาย ทานผักผลไม้หลากชนิด

 

ชอบบทความนี้หรือเปล่าค่ะ?

คลิกที่รูปหัวใจเพื่อโหวต!

คะแนนเฉลี่ย / 5. คะแนนโหวต:

ยังไม่มีโหวต! โหวตเป็นคนแรก

คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ไหมค่ะ...

โปรดติดตามเราทางโซเซียลมีเดีย!

ขอโทษที่คุณไม่ชอบบทความนี้!

ให้เราพัฒนาบทความนี้ให้ดีขึ้น!

เราจะสามารถทำให้บทความนี้น่าสนใจอย่างไร?

Subscribe
Notify of
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x