วิธีเลือกอาหารเสริมลดไขมันในเลือด ส่วนผสมแบบไหนช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้?

อยากทานอาหารเสริมลดไขมันในเลือด แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกอย่างไงดี ? ส่วนผสมแบบไหนที่ตอบโจทย์สุดๆ ภาวะไขมันในเลือดสูงมีอาการอย่างไร และ มีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง อาหารประเภทใดช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้ดีสุดๆ?

วิธีเลือกอาหารเสริมลดไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) ทานอะไรดี? ไขมันในเลือดสูง คือ ภาวะที่ระดับไขมันในร่างกายของเรามีค่าสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ โดยปกติร่างกายของเราจะมีไขมันอยู่ 2 ชนิด คือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) และ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ถ้าร่างกายสะสมไขมันเหล่านี้ไว้มากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ และส่วนต่างๆของร่างกายไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด ร้ายแรงที่สุดอาจเป็นอัมพาตได้ รวมถึงโรคอื่นๆอีก หากมีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรทานอาหารอะไร หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไหน และ ควรเลือกอาหารเสริมลดไขมันในเลือดอย่างไร?

สัญญาณและอาการของไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูง

  • เป็นความดันโลหิตสูง (High blood pressure)
  • เจ็บหน้าอก เจ็บแบบจุกแน่น หรือ แน่นหน้าอก
  • ปวดขาโดยเฉพาะเวลายืน และ เดิน
  • มีอาการวิงเวียนศีรษะบ่อยครั้ง
  • มีเหงื่อเย็น (เหงื่อออกเวลาที่ตื่นเต้น เจ็บปวด หรือ กลัว ไม่ใช่เหงื่อที่ออกเพราะสภาพอากาศ)
  • นอนไม่หลับ สภาพร่างกายเหนื่อยล้ามาก โดยเฉพาะช่วงกลางวัน
  • มีภาวะใจสั่น (Heart Palpitations) คือ ภาวะที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นเร็ว หรือ เต้นแรง
  • แสบร้อนบริเวณหน้าอก (Heartburn) คลื่นไส้ และ อาเจียน

อย่างไรก็ตามสัญญาณและอาการเหล่านี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้น หากพบอาการเหล่านี้ ก่อนซื้อยา หรือ อาหารเสริมใดๆมารับประทาน เพื่อความปลอดภัย ควรรีบพบแพทย์ขอคำปรึกษาก่อนเสมอ บางรายอาจไม่แสดงอาการอะไรเลยด้วยซ้ำ แพทย์จำเป็นต้องตรวจหาระดับไขมันในเลือด เพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป

วิธีเลือกอาหารเสริมลดไขมันในเลือด ส่วนผสมแบบไหนช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้

อาหารเสริมลดไขมันในเลือด

  • กรดไขมัน Omega-3 แบบน้ำ หรือ แคปซูล ก็ได้
  • ไฟเบอร์ (Fiber)
  • วิตามินบี1 หรือ ไทแอมีน (thiamine)
  • วิตามินบี3 (Vitamin B3 ) หรือ ไนอะซิน (niacin)
  • อะเซติล แอลคาร์นิทีน (Acetyl L- Carnitine)
  • ยี่หร่า (cumin)
  • กระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa )
  • ใบกระวาน (Bay Leaf)

ก่อนที่จะซื้ออาหารเสริมใดๆรับประทาน เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอ

ไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) ทานอะไรดี?

ไขมันในเลือดสูงทานอะไรดี

  • อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3 fatty acids) เช่น ปลาทะเลน้ำลึก จำพวก ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน รวมถึง ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ อาทิ เมล็ดแฟลกซ์ (Flax Seed) และ ถั่ววอลนัท (Walnuts)
  • เพิ่มการทานอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ (Fiber) อาทิ ผักผลไม้นานาชนิด โดยเฉพาะผักใบเขียว ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวโอ๊ต และ รำข้าว
  • เน้นทานไขมันดี (healthier fats) อาทิ ไขมันจากปลา ปรุงอาหารด้วย น้ำมันมะกอก
  • เลือกทานอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน อาทิ ไก่ และ เนื้อปลา

วิธีป้องกันไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia)

  • ทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ หรือ ออกกำลังกายเป็นประจำ มีหลากรูปแบบการออกกำลังกายที่ช่วยลดการสะสมของไขมัน อีกทั้งยังดีต่อสุขภาพหัวใจ เช่น คาร์ดิโอ (Cardio Exercise) ควรออกกำลังกายประมาณ 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ครั้งล่ะ อย่างน้อย 40 นาที สำหรับใครที่มีไขมันส่วนเกินสะสมมานาน และสะสมเยอะมากๆ อาจเพิ่มการออกกำลังกายอื่นๆ เข้าไปด้วย อาทิ ฝึกเล่น เวทเทรนนิ่ง (weight training) หรือ บอดี้เวท (Bodyweight) เพื่อช่วยเพิ่มการเบิร์นไขมัน เวทเทรนนิ่ง และ บอดี้เวท ไม่เพียงแต่ช่วยสลายไขมันสะสมได้อย่างมากมาย แต่ยังช่วยเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ส่งผลถึงรูปร่างสลิมฟิต ไร้ไขมันส่วนในระยะยาวอีกด้วย
  • นอนอย่างน้อยวันล่ะ 6-8 ชั่วโมง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันล่ะ 1.5 – 2 ลิตร ขึ้นไป
  • ไม่นั่งอยู่กับที่ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
  • หลีกเลี่ยง หรือ ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์

ไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) ไม่ควรทานอะไร?

ไขมันในเลือดสูงไม่ควรทานอะไร

  • หนังสัตว์ปีก เช่น หนังไก่ทอด หรือ หนังเป็ด
  • เนื้อติดมันทุกชนิด เช่น หมูสามชั้น เนื้อวัวส่วนท้อง รวมถึง เนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆส่วนที่มีมันเยอะๆ
  • น้ำมันหมู น้ำมันปล์ม หรือ เนยเทียม
  • ขนมคบเคี้ยว รวมถึง ขนมหวานต่างๆ
  • อาหารแปรรูป และ อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ใส้กรอก เบคอน อาหารหมักดอง รวมถึงอาหารที่เข้มข้นไปด้วยเครื่องปรุงรสแบบต่างๆ

ไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง?

  • การใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ (Steroid)
  • เป็นโรคบางชนิด เช่น โรคอ้วน หรือ โรคเบาหวาน
  • ไม่ชอบออกกำลังกาย หรือ ทานอาหารที่อุดมไปด้วยแป้ง ไขมัน และ น้ำตาล
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • พักผ่อนน้อย สูบบุหรี่จัด หรือ ดื่มสุราเยอะ

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีพฤติกรรมเสี่ยง หรือ มีสัญญาณและอาการของไขมันในเลือดสูง ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพจากแพทย์อย่างน้อยปีล่ะ 1 ครั้ง เพื่อหาแนวทางรักษาที่ถูกต้องต่อไป

เครดิตข้อมูล:

www.medicalnewstoday.com
www.baptisthealth.com
www.healthline.com
www.webmd.com

ชอบบทความนี้หรือเปล่าค่ะ?

คลิกที่รูปหัวใจเพื่อโหวต!

คะแนนเฉลี่ย / 5. คะแนนโหวต:

ยังไม่มีโหวต! โหวตเป็นคนแรก

คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ไหมค่ะ...

โปรดติดตามเราทางโซเซียลมีเดีย!

ขอโทษที่คุณไม่ชอบบทความนี้!

ให้เราพัฒนาบทความนี้ให้ดีขึ้น!

เราจะสามารถทำให้บทความนี้น่าสนใจอย่างไร?

Subscribe
Notify of
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x