มอยเจอร์ไรเซอร์ คืออะไร ? ใช้ตอนไหน เลือกอย่างไรให้เหมาะกับผิว?

ผิวแห้งขาดน้ำ ไร้ความชุ่มชื่นแบบสุดๆ ใช้สกินแคร์ตัวไหนดี? คุ้นกันไหม มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer) สกินแคร์คู่กายของคนผิวแห้ง มอยเจอร์ไรเซอร์ คืออะไร ? มีประโยชน์ต่อผิวอย่างไรบ้าง ? สภาพผิวแห้ง ผิวมัน ผิวผสม ผิวธรรมดา หรือ ผิวที่มีริ้วรอยมากๆ ควรเลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนผสมอะไรบ้าง พร้อมลำดับการทามอยเจอร์ไรเซอร์ที่ถูกต้อง ไปส่องทุกเรื่องของมอยเจอร์ไรเซอร์กัน

มอยเจอร์ไรเซอร์ คืออะไร

มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer) อีกหนึ่งสกินแคร์ชิ้นสำคัญที่เราได้ยินกันบ่อยมากๆ แต่หลายคนยังไม่กระจ่างเลยนะว่าผลิตภัณฑ์ดูแลผิวตัวนี้มีความสำคัญอย่างไรบ้าง ต้องทาเวลาไหน จำเป็นต้องใช้ทุกวันหรือเปล่า ต้องเลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนผสมอะไรบ้าง จึงจะช่วยบำรุงผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปิดทุกอย่างเกี่ยวกับมอยเจอร์ไรเซอร์ พบกับ “มอยเจอร์ไรเซอร์ คืออะไร ? พร้อมวิธีใช้ และคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ให้เหมาะกับสภาพผิวแต่ล่ะประเภท

มอยเจอร์ไรเซอร์ คือ

มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer) คือ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความชุ่มชื่น และ กักเก็บความชุ่มชื่นให้แก่ผิวและยังช่วยฟื้นบำรุงผิวแห้งกร้านให้กลับมานุ่มนวลขึ้น

มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer) แต่ละแบรนด์จะมีส่วนผสมปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่มักจะเพิ่มส่วนผสมที่ช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว พร้อมสารบำรุง ที่มีส่วนช่วยซ่อมแซมเซลล์ผิวที่เสียหายให้กลับมาแข็งแรงขึ้น บางแบรนด์อาจจะเพิ่มส่วนผสมประเภท  Anti-aging (ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอย) แต่หลักๆเลย มอยเจอร์ไรเซอร์ มักจะมีส่วนผสมที่ช่วยลดปัญหาผิวแห้ง ผิวขาดน้ำ ผิวขาดความชุ่มชื่น

มอยเจอร์ไรเซอร์ ช่วยอะไร ?

มอยเจอร์ไรเซอร์ตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว

1 – ลดการสูญเสียน้ำออกจากผิว

มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer) ที่มีส่วนผสมของสารในกลุ่ม Occlusives ซึ่งเป็นสารประเภทที่ช่วยเคลือบผิว มีคุณสมบัติช่วยกักเก็บความชุ่มชื่น ลดการสูญเสียน้ำ มอยเจอร์ไรเซอร์ประเภทนี้จะช่วยชะลอการสูญเสียน้ำทางผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 – ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว

เมื่อเกิดอาการคันระคายเคือง สภาพผิวหยาบกร้าน แห้งแตก อาจเป็นเพราะผิวหนังของเราขาดเริ่มขาดความชุ่มชื่นแล้ว มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer) ที่มาพร้อมกับสาร Humectants จะช่วยดูดซับน้ำจากผิวชั้นลึกมายังผิวชั้นบน ทำให้ผิวหนังของเราแลดูอิ่มน้ำ ไม่แห้งกร้าน ช่วยลดผิวคันระคายเคือง

3 – ช่วยเสริมสร้างเกราะป้องกันผิวให้ผิวแข็งแรง นุ่มนวลขึ้น

ผิวขาดความชุ่มชื่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวลอก คัน เป็นขุย หยาบกร้าน สภาพผิวอ่อนแอ แพ้ง่าย มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer) ที่มีส่วนผสมของสารในกลุ่ม Emollients จะช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำ พร้อมฟื้นบำรุงผิวให้นุ่มนวล ความชุ่มชื้นยังช่วยเสริมสร้างชั้นผิวให้แข็งแรงขึ้น

เลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer)  อย่างไรให้เหมาะกับสภาพผิวของเรา ?

เลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ อย่างไรให้เหมาะกับสภาพผิวของเรา

1 – ผิวมัน ผิวเป็นสิวง่าย (Oily, Acne-prone)

ส่วนผสมที่ควรมองหา: กรดไฮยาลูรอนิค แอซิด (Hyaluronic Acid), ซาลิไซลิก แอซิด (Salicylic Acid), กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid), ทีทรีออยล์ (Tea tree oil) และ เรตินอล (Retinol)

ส่วนผสมเหล่านี้ ไม่ทำให้ผิวเกิดการอุดตัน รูขุมขนอุดตันเป็นอีกหนึ่งสำคัญสาเหตุของการเกิดสิว

2 – ผิวแห้ง (Dry skin)

ส่วนผสมที่ควรมองหา: ปิโตรลาทัม (Petrolatum), กรดไฮยาลูรอนิค แอซิด (Hyaluronic Acid), โจโจ้บาออยล์ (Jojoba oil), น้ำมันมะพร้าว, เชียบัตเตอร์ (Shea Butter), น้ำมันอัลมอนด์ (Almond Oil) และ ขี้ผึ้ง (Beeswax Cholesterol)

ส่วนผสมเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่น พร้อมกักเก็บความชุ่มชื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนที่มีสภาพผิวแห้งมากๆ ควรเลือกใช้มอยเจอร์ไรเซอร์เนื้อครีม หรือ  oil-based moisturize (มีส่วนผสมของน้ำมันเป็นหลัก)

3 – ผิวผสม (Combination skin)

ส่วนผสมที่ควรมองหา: ทีทรีออยล์ (Tea tree oil) และ ซาลิไซลิก แอซิด (Salicylic Acid)

ส่วนผสมเหล่านี้จะช่วยลดปัญความันบริเวณ  T-zones  (คาง หน้าผาก และจมูก) และควรเลือกใช้มอยเจอร์ไรเซอร์เนื้อบางเบา เพราะผิวหนังจะดูดซึมได้เร็ว ลดปัญหาผิวมันเยิ้ม

4 – ผิวแพ้ง่าย (Sensitive skin)

ส่วนผสมที่ควรมองหา: กลีเซอรีน (Glycerin) และ ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ มีคุณสมบัติช่วยปลอมประโลมผิว เหมาะกับผู้ที่มีสภาพผิวบอบบางแพ้ง่าย และควรเลือกใช้มอยเจอร์ไรเซอร์ประเภท fragrance-free moisturizer ปราศจากน้ำหอม รวมถึง มอยเจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ เพราะมีความอ่อนโยนต่อผิว

5 – ผิวที่มีริ้วรอย ผิวผู้ใหญ่ ผิวผู้สูงวัย (Mature skin)

ส่วนผสมที่ควรมองหา: คอลลาเจน (Collagen), อิลาสติน (Elastin), ปิโตรลาทัม (Petrolatum), น้ำมันมะพร้าว และ โจโจ้บาออยล์ (Jojoba oil)

ส่วนผสมเหล่านี้จะช่วยเติมเต็มความชุ่มชื่น พร้อมกักเก็บความชุ่มชื่นให้แก่ผิวได้ยาวนานหลายชั่วโมง และควรเลือกใช้มอยเจอร์ไรเซอร์สูตรเข้มข้น, oil-based moisturize (มีส่วนผสมของน้ำมันเป็นหลัก) หรือ protein-based moisturize

6 – ผิวธรรมดา (Normal skin)

ส่วนผสมที่ควรมองหา: กลีเซอรีน (Glycerin), ว่านหางจระเข้ และ กรดไฮยาลูรอนิค แอซิด (Hyaluronic Acid)

ส่วนผสมเหล่านี้มีความอ่อนโยนต่อผิว และยังช่วยอุ้มน้ำให้ผิวชุ่มชื่นได้อย่างยาวนาน  และควรเลือกใช้มอยเจอร์ไรเซอร์เนื้อครีมสูตรบางเบา หรือ มอยเจอร์ไรเซอร์เนื้อเจล

วิธีใช้มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer)

วิธีใช้มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer)

ลำดับการทามอยเจอร์ไรเซอร์บำรุงผิวหน้าที่ถูกต้อง

ขั้นตอนบำรุงผิวหน้าตอนกลางวัน

1 – ล้างหน้าให้สะอาดด้วยคลีนเซอร์

2 – เช็ดบำรุงผิวด้วยโทนเนอร์

3 – บำรุงผิวหน้าด้วยเซรั่ม

4 – บำรุงผิวรอบดวงตาด้วยอายครีม

5 – ใครที่มีสิวควรบำรุงผิวด้วย spot treatment หรือ ครีมแต้มสิว

6 – บำรุงผิวหน้าด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์

7 – ตบท้ายด้วยครีมกันแดด

ขั้นตอนบำรุงผิวหน้าตอนกลางคืน

1 – ล้างหน้าให้สะอาดด้วยคลีนเซอร์

2 – เช็ดบำรุงผิวด้วยโทนเนอร์

3 – บำรุงผิวหน้าด้วยเซรั่ม

4 – บำรุงผิวรอบดวงตาด้วยอายครีม

5 – ใครที่มีสิวควรบำรุงผิวด้วย spot treatment หรือ ครีมแต้มสิว

6 – บำรุงผิวหน้าด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์

มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer) คือตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว นอกจากการบำรุงผิวแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยสำคัญที่ช่วยเติมเต็มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว อาทิ การดื่มน้ำให้เพียงพอ รวมถึงการรับประทานอาหารหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารประเภทผักและผลไม้ เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุนานาชนิด ซึ่งล้วนอัดแน่นไปด้วยสารอาหารที่มีส่วนช่วยเติมน้ำให้แก่ผิว

การที่เน้นทามอยเจอร์ไรเซอร์เพื่อให้ผิวอิ่มน้ำ เพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจปัจจัยอื่นๆ ก็ไม่สามารถช่วยให้ผิวชุ่มชื่น มีสุขภาพดีได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์นะ เราต้องหมั่นบำรุงผิว ควบคู่กับการเติมอาหารให้ผิวอย่างเพียงพอ พร้อมปกป้องผิวจากแสงแดดและสภาพแวดล้อมภายนอกต่างๆ

อ้างอิงข้อมูลมอยเจอร์ไรเซอร์บางส่วน:

www.theskincareedit.com

www.medicinenet.com

www.cosmopolitan.com

ชอบบทความนี้หรือเปล่าค่ะ?

คลิกที่รูปหัวใจเพื่อโหวต!

คะแนนเฉลี่ย / 5. คะแนนโหวต:

ยังไม่มีโหวต! โหวตเป็นคนแรก

คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ไหมค่ะ...

โปรดติดตามเราทางโซเซียลมีเดีย!

ขอโทษที่คุณไม่ชอบบทความนี้!

ให้เราพัฒนาบทความนี้ให้ดีขึ้น!

เราจะสามารถทำให้บทความนี้น่าสนใจอย่างไร?

Subscribe
Notify of
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x