Silicosis คือ? สูดฝุ่นเยอะๆ อาจทำให้ปอดพังได้ง่าย

Silicosis คือ? Silicosis คือ โรคปอดฝุ่นหิน เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นซิลิกอนไดออกไซด์เข้าสู่ปอด ฝุ่นซิลิกอนไดออกไซด์เป็นอนุภาพที่พบได้ในหินทั่วไป เราจะมีวิธีป้องกันตัวเองจากโรค Silicosis อย่างไรบ้าง?

โรคปอดฝุ่นหิน(Silicosis)

Silicosis คือ โรคอะไร ส่งผลเสียต่อสุขภาพด้านใด และมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง? โรค Silicosis หรือ โรคซิลิโคสิส เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นซิลิก้า (crystalline silica) หรือฝุ่นซิลิกอนไดออกไซด์เข้าไปในร่างกาย ฝุ่นประเภทนี้มีขนาดเล็ก หากได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ก็จะปนเปื้อนเข้าไปสะสมอยู่ในปอด และระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปอดอักเสบและเกิดเป็นพังผืดขึ้น จึงทำให้เนื้อเยื่อปอดส่วนนั้นไม่สามารถทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอากาศได้ตามปกติ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายประการ เราจะมีวิธีป้องกันโรคซิลิโคสิสได้อย่างไรบ้าง?

โรค Silicosis (โรคซิลิโคสิส) เกิดจากอะไร?

โรค Silicosis (โรคซิลิโคสิส) หรือ โรคปอดฝุ่นหิน เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นซิลิก้า (silica) ซึ่งอยู่ในรูปของซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) เข้าไปในปอดและระบบทางเดินใจ  ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) เป็นองค์ประกอบที่พบได้ทั่วไปในหินชนิดต่างๆ อาทิ หินทราย หินควอร์ซ และ หินแกรนิต เป็นต้น

ผลึกซิลิก้าจะเข้าสู่ร่างกายในรูปของฝุ่นที่มีขนาดเล็กมากโดยการหายใจ และเข้าไปสะสมอยู่ในบริเวณถุงลมปอด  ฝุ่นประเภทนี้จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

1 – ฝุ่นที่ไม่เป็นอันตราย  มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-15 ไมโครเมตร ฝุ่นประเภทนี้จะตกค้างบนเยื่อบุหลอดลม ซึ่งร่างกายของเราจะกำจัดออกมาได้ด้วยการไอหรือจาม

2 – ฝุ่นที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-5 ไมโครเมตร ฝุ่นประเภทนี้ส่วนใหญ่จะปนเปื้อนเข้าไปในถุงลมของปอด และทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองจากเนื้อเยื่อของปอดได้

3 – ฝุ่นที่มีขนาดน้อยกว่า 0.5 ไมโครเมตร ฝุ่นประเภทนี้ส่วนใหญ่จะแขวนลอยอยู่ในอากาศ ร่างกายของเราจะขับออกมาทางลมหาย

อาการเบื้องต้นของโรค Silicosis (โรคซิลิโคสิส)

  • หายใจติดขัด เหนื่อยง่าย
  • แน่นหน้าอก และ อกขยายตัวได้น้อยลง
  • ไอแห้ง มีเสมหะสีดำ
  • ไอเป็นเลือด
  • มีเสียงหายใจบริเวณหลอดลม
  • ปอดเป็นพังผืด
  • ไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก

วิธีป้องกันโรค Silicosis (โรคซิลิโคสิส)

  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจายออกมาจากเครื่องจักรในขณะทำงาน
  • ควบคุมฝุ่นที่เกิดขึ้นไม่ให้มีปริมาณเกิดค่ามาตรฐานความปลอดภัย
  • หลีกเลี่ยงการทำงานในห้องที่ไม่มีหน้าต่าง หรือ ช่องระบายอากาศ
  • ติดตั้งระบบระบายอากาศ
  • สวมหน้ากากที่สามารถกรองฝุ่นหินได้ และควรเป็นหน้ากากที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก OSHA หรือ NIOSH
  • สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดในขณะทำงาน
  • ตรวจสุขภาพประจำปีกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  หากพบว่ามีภาวะของโรค Silicosis (โรคซิลิโคสิส) ควรรีบเข้ารับการรักษาเพื่อลดอาการเจ็บป่วยและโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

อาชีพที่ก่อให้เกิดโรค Silicosis (โรคซิลิโคสิส)

  • คนงานเหมือง
  • คนงานโรงโม่หิน
  • คนงานทำแก้ว อิฐทนไฟ
  • งานเกี่ยวกับการก่อสร้าง หรือ รื้อถอนอาคาร
  • งานเกี่ยวกับสลักหิน
  • งานเกี่ยวกับหลอมแก้ว เลื่อยตัดแต่งขัดหิน
  • งานเกี่ยวกับขัดผิวโลหะด้วยการพ่นทราย
  • งานทำปูนซีเมนต์
  • งานเกี่ยวกับการผลิตกระเบื้องเซรามิค

อ้างอิง

www.thaihealth.or.th
http://nlrc.mol.go.th
https://datariskcom-ddc.moph.go.th
http://inenvocc.ddc.moph.go.th
https://www.thaingo.org

ชอบบทความนี้หรือเปล่าค่ะ?

คลิกที่รูปหัวใจเพื่อโหวต!

คะแนนเฉลี่ย / 5. คะแนนโหวต:

ยังไม่มีโหวต! โหวตเป็นคนแรก

คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ไหมค่ะ...

โปรดติดตามเราทางโซเซียลมีเดีย!

ขอโทษที่คุณไม่ชอบบทความนี้!

ให้เราพัฒนาบทความนี้ให้ดีขึ้น!

เราจะสามารถทำให้บทความนี้น่าสนใจอย่างไร?

Subscribe
Notify of
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x