5 วิธีเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone)

ผู้ชายคนไหนที่ไม่อยากมีเซ็กส์ ความต้องการทางเพศลดลง นอนไม่หลับ เพลียอ่อนล้าหมดแรง อ้วนขึ้น โมโห หงุดหงิดง่าย มีอารมณ์แบบนี้บ่อยๆอาจเป็นเพราะร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชาย หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน (Testosterone) น้อยลง คุณผู้ชายรู้ไหมว่ามันมีหลากวิธีที่ช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนเพศชายนะ อยากรู้ไหมว่าทำอย่างบ้าง พบกับ 5 วิธีเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) แบบง่ายๆ

วิธีเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย Testosterone

ฮอร์โมนเพศชาย หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน (Testosterone) มีความสำคัญต่อสุขภาพของคุณผู้ชายหลายประการ อาทิ ช่วยกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อ ช่วยเผาผลาญไขมัน ช่วยในการผลิตอสุจิ พร้อมเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ถ้าปริมาณฮอร์โมน Testosterone ผลิตได้น้อยลง ก็จะส่งผลต่อสุขภาพของคุณผู้ชายหลายประการเลยทีเดียว แต่รู้ไหมว่าเราสามารถช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเพศชายเพิ่มขึ้นได้ตามธรรมชาติ พบกับหลากวิธีเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone)

เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ได้อย่างไรบ้าง?

1 – ร่างกายต้องได้รับวิตามินดี (Vitamin D) อย่างเพียงพอ

วิตามินดีมีส่วนช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน (Testosterone) หรือ ฮอร์โมนเพศชาย ร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้เอง ผ่านทางแสงแดด เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี ควรออกมารับแสงแดดยามเช้าในช่วงเวลา 08.00 น. – 10.00 น. หรือรับประทานอาหารจำพวกปลาทะเลน้ำลึก ไข่และผลิตภัณฑ์จากนม เพื่อกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน (Testosterone) ร่างกายควรได้รับวิตามินดีประมาณ 3,000 IU ต่อวัน

2 – เวทเทรนนิ่ง (Weight Training)

ออกกำลังกายเป็นประจำถือเป็นอีกหนึ่งวิธีกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ได้ดีที่สุด จริงๆแล้วทุกรูปแบบออกการออกกำลังกายที่เราชอบและเหมาะกับสภาพร่างกายของเราล้วนช่วยส่งเสริมการผลิตฮอร์โมนทั้งสิ้น โดยเฉพาะการฝึก เวทเทรนนิ่ง (Weight Training) หรือ การออกกำลังกายแบบหนักและเข้มข้นอย่าง High-intensity interval training (HIIT)  จะช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมน Testosterone ได้ดีมากๆ ซึ่งข้อนี้มีผู้เชี่ยวชาญเขาทำการศึกษาวิจัยเรียบร้อยแล้วนะ

3 – กินอาหารเสริมหรือยาประเภทที่มีฮอร์โมน Testosterone

การกินยาที่มีฮอร์โมน Testosterone เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากมาย แต่วิธีนี้ต้องเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การกินยาจะต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์ ซึ่งแพทย์จะตรวจวัดระดับฮอร์โมนก่อน จากนั้นถึงจะนำผลการตรวจที่ได้ไปวางแผนเพื่อให้ยาต่อไป เพื่อความปลอดภัยเราไม่ควรซื้ออาหารเสริมมารับประทานเอง

4 – ทานอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันดีและโปรตีน

อาหารที่เรากินในแต่ละมื้อส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและการผลิตฮอร์โมนต่างๆในร่างกายของเรา เคยได้ยินวลีที่ว่า “You are what you eat” กันไหม “ชอบกินอะไร ก็จะเป็นแบบนั้นแหล่ะ” อาหารที่ให้โปรตีนสูง อาทิ ปลา เนื้อ นม ไข่  และอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันดี อาทิ น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว ปลาทะเลน้ำลึกและอะโวคาโด จะช่วยส่งเสริมการสร้างกล้ามเนื้อ ให้พลังงานแก่ร่างกาย และช่วยกระตุ้นการผลิต ฮอร์โมน Testosterone ได้เป็นอย่างดี

5 – นอนให้พอและไม่เครียด

ความเครียดมีผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนต่างๆในร่างกายของเรา อีกทั้งยังทำให้นอนไม่หลับอีกด้วย ถ้าใครที่เครียดมากๆ พ่วงมาด้วยอาการนอนไม่หลับอาจต้องถึงเวลาปรึกษาแพทย์เพื่อหา อาหารเสริมประเภทที่ช่วยลดความเครียด และช่วยในการนอนหลับมากิน อาทิ อาหารเสริม Melatonin (เมลาโทนิน) ตัวนี้จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ก่อนที่จะกินอาหารเสริมใดๆต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อความปลอดภัยของเราเอง การนอนพักผ่อนสำคัญมากๆ เขามีงานวิจัยที่ระบุว่าหากเรานอนน้อยมันจะส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศชายมากถึง 15 เปอร์เซ็นต์เลยนะ เราควรนอนวันล่ะ 7-10 ชั่วโมง และควรหลับให้ลึกด้วย

อะไรที่เป็นสาเหตุทำให้ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ผลิตได้ลดลง

มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมน Testosterone อาทิ :

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ความอ้วน
  • สูบบุหรี่จัด
  • การใช้ยาบางประเภทเพื่อรักษาโรคประจำตัว
  • พักผ่อนน้อย มีภาวะความเครียด ไม่ชอบออกกำลังกาย
  • ได้รับสารอาหารและวิตามินไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • อายุที่มากขึ้น

ถ้าระดับฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ต่ำกว่าปกติจะเกิดผลเสียอย่างไร?

  • นอนหลับยาก
  • สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
  • อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ความต้องการทางเพศลดลง
  • เหนื่อยง่าย เพลีย หมดแรง ไม่กระฉับกระเฉง
  • โกรธง่าย เบื่อ หงุดหงิดกับทุกเรื่อง
  • อ้วนขึ้น

ทุกฮอร์โมนในร่างกายของเรามีความสำคัญต่อสุขภาพและร่างกายของเรามากๆ ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของเราโดยตรง เช่นเดียวกับฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน (Testosterone) ถ้าคุณผู้ชายคนไหนที่รู้สึกว่าระดับฮอร์โมนเพศชายหลั่งออกมาน้อยกว่าปกติ อาจถึงเวลาพบแพทย์เพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมนและวางแผนการรักษาต่อไป

อ้างอิงบางส่วน:

www.medicalnewstoday.com

www.healthline.com

www.centrespringmd.com

ชอบบทความนี้หรือเปล่าค่ะ?

คลิกที่รูปหัวใจเพื่อโหวต!

คะแนนเฉลี่ย / 5. คะแนนโหวต:

ยังไม่มีโหวต! โหวตเป็นคนแรก

คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ไหมค่ะ...

โปรดติดตามเราทางโซเซียลมีเดีย!

ขอโทษที่คุณไม่ชอบบทความนี้!

ให้เราพัฒนาบทความนี้ให้ดีขึ้น!

เราจะสามารถทำให้บทความนี้น่าสนใจอย่างไร?

Subscribe
Notify of
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x