Effective cough คือ? มาฝึกไอกันเถอะ

รู้ไหมทุกคนก่อนผ่าตัดใหญ่ แพทย์มักจะฝึกให้ผู้ป่วยไอ หรือ ฝึกการหายใจอยู่บ่อยครั้ง เพราะการไอ และ การหายใจที่ถูกต้อง มีส่วนช่วยลดอาการบาดเจ็บบริเวณบาดแผล อีกทั้งยังช่วยขับเสมหะได้เป็นอย่างดี เคยได้ยิน Effective cough กันหรือเปล่าคะ Effective cough คือ?

Effective cough คือ

Effective cough คือ การไออย่างมีประสิทธิภาพ “การไอย่างมีประสิทธิภาพ” ฝึกได้ด้วยเหรอ? เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ อาทิ ฝุ่นละออง ควัน  รวมถึงมลภาวะในอากาศที่เป็นอันตราย กลไกร่างกายของเราจะพยายามขจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออกมา การไอมีส่วนช่วยป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย อย่างไรก็ตามมีหลายสาเหตุที่ทำให้เราไอ เช่น เป็นโรคหอบหืด  วัณโรค  ไข้หวัด สูบบุหรี่ และโรคอื่นๆ ถ้ามีอาการไอติดต่อการหลายวัน หรือ 2-3 อาทิตย์ขึ้นไป ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ เพราะการไอเรื้อรังส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายประการ ควรหาทางรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

Effective cough คือ?

Effective cough คือ การไออย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกไออย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยในการขับเสมหะที่ตกค้างอยู่ในท่อหลอดลมทางเดินหายใจใหญ่ออกมา

ทำไมต้องฝึก  Effective cough (ไออย่างมีประสิทธิภาพ) ?

การฝึกไอ มีส่วนช่วยขจัดเสมหะได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดการสะเทือนบริเวณบาดแผล ทำให้แผลผ่าตัดเจ็บน้อยลง  ก่อนผ่าตัดแพทย์มักจะมีการแนะนำให้ผู้ป่วยฝึกหายใจและฝึกไอ

วิธีฝึก Effective cough (ไออย่างมีประสิทธิภาพ) เพื่อกำจัดเสมหะ

  1. หายใจเข้าลึกๆ ผ่านจมูกเพื่อเพิ่มปริมาตรของปอด
  2. กลั้นหายใจเอาไว้ 3 วินาที ซึ่งเป็นช่วงที่ฝาปิดกล่องเสียงปิด และตามด้วยการหดตัวของกล้ามเนื้อหายใจออก ทำให้ความดันในทรวงอกสูงขึ้นอย่างมาก
  3. ช่วงที่ไอ เป็นช่วงที่ฝาปิดกล่องเสียงเปิดออกทันที่พร้อมๆ กับลมในปอดพุ่งออกมาอย่างแรงและเร็วเพื่อผลักดันเสมหะออกมา

วีดีโอฝึก Effective cough (ไออย่างมีประสิทธิภาพ) เพื่อกำจัดเสมหะ

Effective cough การฝึกไออย่างมีประสิทธิภาพ  มีส่วนช่วยขับเสมหะ และลดอาการบาดเจ็บบริเวณแผลผ่าตัด

สาเหตุของการไอ

มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดการไอ เช่น สูบบุหรี่ เป็นวัณโรค เป็นหอบหืด ไข้หวัด รวมถึงเวลาที่ร่างกายได้รับเชื้อโรคต่างๆ

วิธีรักษาอาการไอเบื้องต้น

  • หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณที่เต็มไปด้วยละออง หรือ ฝุ่นควัน งดสูบบุหรี่ หรืออยู่ใกล้กับคนที่สูบบุหรี่
  • จิบน้ำบ่อยๆ ให้ชุ่มคอ เพื่อลดอาการคอแห้ง จะช่วยบรรเทาอาการไอได้
  • อมยาอมแก้เจ็บคอ  เพื่อลดอาการระคายเคืองคอ
  • ดื่มชาสมุนไพร เช่น ชาขิงผสมน้ำผึ้งมะนาว เพื่อลดอาการระคายเคืองคอ และคอแห้ง
  • ฉีดสเปรย์พ่นคอ ควรขอคำแนะนำจากเภสัชก่อนซื้อมาใช้
  • เวลานอน ให้ใช้หมอนหนุนศีรษะให้สูงขึ้นกว่าปกติ

ไอห้ามกินอะไร

  • เครื่องดื่มประเภทหวานๆ เครื่องดื่มชูกำลัง และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เครื่องดื่มประเภทนี้จะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ส่งผลถึงอาการคอแห้ง  ทำให้เจ็บคอและไอมากขึ้น
  • ขนมหวาน และ ช็อกโกแลต อาหารในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วยน้ำตาลที่สูงมากๆ อาจทำให้เกิดการอักเสบ ระคายเคืองคอได้
  • ผลิตภัณฑ์นม เพราะอาจทำให้เสมหะมีมากขึ้น หรือมีความข้นเหนียวขึ้น
  • อาหารทอดต่างๆ อาหารกลุ่มนี้มีไขมันสูงมาก อาจก่อให้เกิดการอักเสบได้

ไอกินอะไร

  • น้ำผึ้งแท้: มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบ ระคายเคือง อีกทั้งยังช่วยทำให้ชุ่มคอ ส่วนใหญ่จะนำไปผสมกับชาสมุนไพร หรือ น้ำมะนาว
  • สับปะรด: ในสับปะรดอุดมไปด้วยเอนไซม์บรอมีเลน ( Bromelain) มีคุณสมบัติช่วยละลายเสมหะ ลดอาการอักเสบระคายเคือง
  • น้ำมะนาว: น้ำมะนาวอุดมไปด้วยวิตามินซี สารต้านอนุมูลอิสระอันทรงพลัง (Antioxidant) ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ทำให้เราหายจากอาการป่วยได้เร็วขึ้น
  • ขิง: น้ำขิงมีคุณสมบัติช่วยลดไอ เจ็บคอ แก้หวัด ขับเสมหะ การจิบชาขิงระหว่างวันจะช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้น
  • เมล็ดฟักทอง: อุดมไปด้วยธาตุสังกะสี มีคุณสมบัติช่วยต้านเชื้อไวรัส ช่วยทำให้อาการไอ หรือ ไข้หวัดหายเร็วขึ้น

ชาขิงแก้ไข

ไอแบบไหนต้องไปพบแพทย์?

ถ้าไอถี่ๆต่อเนื่องกัน เกิน 3 สัปดาห์ หรือ ไอแบบมีเสมหะสีเขียวปนเหลือง หรือ มีเลือดเจือปนออกมา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด ไม่ควรซื้ออาแก้ไขมากินเอง

การไอจะช่วยขับสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย แต่ถ้าไอนานเกิน 2-3 สัปดาห์ ถือว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย ถ้าไอเกิน 8 สัปดาห์ขึ้นไป จัดว่าเป็นอาการไอเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารหลากหลาย เน้นทานอาหารประเภทช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน อย่าง วิตามินจากผลไม้รสเปรี้ยว โปรตีนจากปลาทะเล และทานอาหารที่อุดมไปด้วยโพรไบโอติกส์ อาทิ นมเปรี้ยว โยเกิร์ต และ ยาคูลท์ อาหารกลุ่มนี้จะช่วยให้เราสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย

อ้างอิง:

www.healthshots.com

www.healthline.com

www.si.mahidol.ac.th

www.recipes.timesofindia.com

www.pharmeasy.in

ชอบบทความนี้หรือเปล่าค่ะ?

คลิกที่รูปหัวใจเพื่อโหวต!

คะแนนเฉลี่ย / 5. คะแนนโหวต:

ยังไม่มีโหวต! โหวตเป็นคนแรก

คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ไหมค่ะ...

โปรดติดตามเราทางโซเซียลมีเดีย!

ขอโทษที่คุณไม่ชอบบทความนี้!

ให้เราพัฒนาบทความนี้ให้ดีขึ้น!

เราจะสามารถทำให้บทความนี้น่าสนใจอย่างไร?

Subscribe
Notify of
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 www.tipsfitness.net จำกัด
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x