หิวบ่อยแก้ยังไง ? หิวบ่อยเกิดจากอะไร มีวิธีแก้อย่างไงบ้าง?

หิวบ่อยเกิดจากอะไร? หิวบ่อยแก้ยังไง ? เป็นไหมกินอะไรก็ไม่อิ่ม หิวโหยอยู่ตลอดเวลา ทั้งๆที่กินเยอะแบบไม่ยั้ง รู้ไหมคะว่าอาหารบางอย่างต่อให้กินแยอะแค่ไหน ก็ช่วยให้อิ่มได้ไม่นาน ในทางกลับกัน มีอาหารบางประเภทที่ช่วยให้เราอิ่มนานตลอดทั้งวันเลยแหล่ะ

หิวบ่อยแก้ยังไง

หิวบ่อย กินจุกจิกตลอดเวลา ของว่างระหว่างวันต้องมีมาตลอด บางคนบอกพยายามงดของว่างนะ แต่รู้สึกเพลีย เหนื่อยล้า ร่างกายไม่มีแรง ในขณะที่บางรายบอกว่า ถ้าไม่กินจะรู้สึกเวียนศีรษะ ท้องไส้ปั่นป่วน หรือไม่ก็อารมณ์เสียแบบสุดๆ เป็นแบบนี้ มาเช็คดูกันดีกว่าว่า อาการหิวบ่อยเกิดจากอะไร? หิวบ่อยแก้ยังไง ?

หิวบ่อยเกิดจากอะไร?

มีหลากสาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้เราหิวบ่อย  อาทิ นอนไม่พอ มีภาวะเครียด ดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานมากเกินไป กินอาหารไม่หลากหลาย รวมถึงการกินอาหารบางประเภทไม่เพียงพอ

หิวบ่อยแก้ยังไง ?

1 – เพิ่มการทานโปรตีน และ ไขมันดี

ต้องบอกเลยนะว่าสาเหตุเบื้องต้นที่มีผลต่ออาการหิวของเรามากๆก็คือ อาหารที่เราทานเข้าไปในแต่ล่ะมื้อ อาหารในกลุ่มที่ให้โปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา เนื้ออกไก่ ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนม จะช่วยให้ร่างกายของเราอิ่มนานมากๆ ช่วยลดความยากอาหารระหว่างวันได้อย่างมากมาย และควรเพิ่มการทานอาหารประเภทที่อุดมไปด้วยไขมันดี อาทิ  ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วอัลมอนด์  อะโวคาโด ปลาทะเลน้ำลึก น้ำมันรำข้าว และ น้ำมันมะกอก ไขมันดีไม่เพียงแต่ช่วยให้เราอิ่มนาน แต่ยังช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ทำให้เราไม่เหนื่อยล้า แลดูกระปรี้กระเปร่า

ลดความอยากอาหารระหว่างวันแบบง่ายๆด้วยการเน้นทานโปรตีน ควบคู่กับไขมันดี และวิตามินนานาชนิดในอาหารมื้อแรกของวัน  และควรทานอาหารมื้อแรกให้เต็มอิ่ม เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานใช้อย่างต่อเนื่องเพียงพอตลอดทั้งวัน

2 – นอนอย่างน้อย 8-9 ชั่วโมงต่อวัน

ตารางงานที่อัดแน่น แถมยังท่องโลกโซเชียลเยอะเกินเบอร์ ทำให้เวลานอนน้อยลง ส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายประการ การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสมอง และ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย รวมถึงอาการเจ็บป่วยอื่นๆ  และยังมีผลต่อการเพิ่มของระดับฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ร่างกายต้องการอาหาร พร้อมลดระดับฮอร์โมนเลปทิน (Leptin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการอยากอาหาร เมื่อฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) เพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน  ฮอร์โมนเลปทิน (Leptin) ลดลง ร่างกายจะรู้สึกหิว และต้องการอาหารมากขึ้น  การนอนน้อยยังทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไร้เรียวแรง ทำให้เราอยากอาหารเพิ่มขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอาหารประเภทหวานๆ

3 – ออกกำลังกายมากเกินไป หรือ ทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานมากเกินไป

หลายคนอยู่ในช่วงหั่นน้ำหนัก ขจัดไขมันส่วนเกิน จึงพยายามทานน้อยลง ออกกำลังกายมากขึ้น  ส่งผลให้ร่างกายใช้พลังงานมากเกินไป อาหารที่กินเข้าไปในแต่ล่ะมื้ออาจไม่เพียงพอ ทำเรารู้สึกหิวอยู่ตลอดเวลา สายออกกำลังกายที่ฮิตหนักๆ เวิร์คเอ้าท์แบบเข้มข้น  ต้องเช็คตัวเองด้วยนะว่า ในแต่ล่ะวันกินของว่างระหว่างมื้อบ่อยแค่ไหน ถ้ากินเกิน 2-3 ครั้ง / วัน แสดงว่า เราอาจออกกำลังกายหนักเกินไป Overtraining หรือ การออกกำลังกายหนักเกินไป ไม่ได้ช่วยทำให้ร่างกายของเราสามารถเบิร์นไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่อย่างใด แต่จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้าไม่มีแรง กล้ามเนื้อที่อ่อนล้า จะทำให้ประสิทธิภาพในการเบิร์นไขมันลดลงทันที ดังนั้น Overtraining นอกจากจะไม่ช่วยให้เราผอมแล้ว ยังทำให้ร่างกายเราหิวโหยต้องการอาหารตลอดเวลา  ถ้ารู้ตัวว่าออกกำลังกายหนักต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นทานโปรตีน ไขมันดี และวิตามินนานาชนิดให้เพียงพอ

4 – ผลจากการทานยาบางชนิด

การทานยาบางประเภทอย่างต่อเนื่อง มีผลทำให้ร่างกายอยากอาหารบ่อย อาทิ ยาลดอาการอารมณ์แปรปรวน ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาแก้อักเสบ รวมถึงยาประเภทอื่นๆ  ถ้าเรามีโรคประจำตัวที่ต้องทานยาอย่างต่อเนื่อง และต้องเผชิญกับอาการหิวบ่อยๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้อง

5 – ทานอาหารเร็วเกินไป

รีบกิน กินแบบเร็วๆ ทำให้เราเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด การกินแบบเร่งรีบอาจทำให้เรารู้สึกอิ่มเร็วทั้งที่เรายังไม่อิ่มเลย ส่งผลให้เราหิวบ่อยระหว่างมื้ออาหาร อาหารที่ไม่ละเอียดยังอาจมีผลต่อระบบเผาผลาญพลังงานที่ลดลงอีกด้วย ทำให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย แต่ล่ะมื้ออาหารควรใช้เวลาในการกินอาหารประมาณ 30 -40 นาที การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดจะช่วยให้เราอิ่มนานขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดภาวะท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ยอยได้อีกด้วยนะ

มาถึงตรงนี้หลายคนคงรู้แล้วนะว่าอาการหิวบ่อยแก้ยังไง ?  การดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 1.3 ลิตรต่อวันขึ้นไป เป็นอีกวิธีช่วยลดอาการหิวบ่อยระหว่างวันได้เป็นอย่างดี เพราะบางครั้งเราอาจไม่ได้หิวข้าวจริงๆ เพียงแค่กระหายน้ำเท่านั้น

ชอบบทความนี้หรือเปล่าค่ะ?

คลิกที่รูปหัวใจเพื่อโหวต!

คะแนนเฉลี่ย / 5. คะแนนโหวต:

ยังไม่มีโหวต! โหวตเป็นคนแรก

คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ไหมค่ะ...

โปรดติดตามเราทางโซเซียลมีเดีย!

ขอโทษที่คุณไม่ชอบบทความนี้!

ให้เราพัฒนาบทความนี้ให้ดีขึ้น!

เราจะสามารถทำให้บทความนี้น่าสนใจอย่างไร?

Subscribe
Notify of
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 www.tipsfitness.net จำกัด
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x