วิธีรับมือกับอาการ Panic Attack (โรคขี้กลัว โรคขี้ตกใจ) เบื้องต้น

โรค Panic Attack คืออะไร มีอาการอย่างไร? เคยเป็นไหม ประหม่ามากๆ เวลาพูดหน้าชั้นเรียน หรือ พรีเซ็นต์งานในที่ประชุมต่อหน้าคนเยอะๆ หรือ มีอาการตกใจกลัวเกินเหตุ เมื่อประสบกับเหตุการณ์ต่างๆรอบตัว มักจะรู้สึกกลัวและกังวลใจอยู่เสมอ เหล่านี้ บ่งชี้ว่าเราอาจเป็นโรค Panic Attack อยู่นะ มาดูวิธีรับมือกับอาการ Panic Attack (โรคขี้กลัว โรคขี้ตกใจ) เบื้องต้น

อาการ Panic Attack

เคยเป็นไหมคะ เวลาที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นมา หรือได้ยินเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆเราจะรู้สึกตื่นตระหนก ตกใจกลัว หายใจไม่ทั่วท้อง ตัวสั่นเทา ทำอะไรไม่ถูก  ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะรุนแรงหรือไม่ก็ตาม เหตุการณ์ธรรมดาทั่วไปก็สามารถทำให้เราเกิดอาหารตื่นกลัวได้ บางคนอย่าว่าแต่เหตุการณ์ร้ายๆเลย แค่ต้องพรีเซนต์งานต่อหน้าเพื่อนร่วมชั้น เพื่อนร่วมงาน หรือ คนเยอะๆก็จะมีอาการประหม่า พูดไม่ออก ตัวสั่น เหงื่อตก  อาหารเหล่านี้แหล่ะที่เรียกว่า Panic Attack วันนี้เรามีวิธีรับมือกับอาการ Panic Attack เบื้องต้นมาแนะนำ

โรค Panic Attack คืออะไร มีอาการอย่างไร?

Panic Attack เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึก โดยผู้ที่มีอาการ Panic Attack สังเกตได้จากความวิตกกังวลเกินเหตุ ตื่นตระหนกในเรื่องธรรมดาทั่วไป เช่น อยู่ดีๆก็จะเกิดอาการใจสั่น รู้สึกไม่สบายตัว หายใจติดขัด แต่เป็นสักพักอาการเหล่านี้ก็จะหายไปเอง ในเวลาที่ประสบกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด แม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะไม่รุนแรงมากก็ตาม ผู้ที่เป็นโรค Panic Attack จะรู้สึกกลัวมาก จนบางครั้งควบคุมตัวเองไม่อยู่ ทำอะไรไม่ถูก คิดอะไรไม่ออก

ถ้าเป็นโรค Panic Attack ขั้นรุนแรงก็จะส่งผลกระทบต่อเราหลายประการ ทำให้เรากลายเป็นคนไม่มีความมั่นใจ ไม่กล้าเข้าสังคม ไม่กล้าพูดต่อหน้าคนเยอะๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่างๆ และอาจส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานของเราอีกด้วย

หากเรามีอาการตื่นตระหนกบ่อยๆ กังวลใจแบบไม่มีสาเหตุ ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ กลัวทุกอย่างไปหมด หรือ ไม่สามารถพูดต่อหน้าคนเยอะได้ๆเพราะมีอาการประหม่ามากจนทำให้ตัวสั่นเทาพูดไม่ออก เราควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษา  และแนวทางรักษาต่อไป

สำหรับบางรายที่รู้สึกว่าตัวเองอาจเข้าข่ายเป็นโรค Panic Attack หรือ มีอาการประหม่าเมื่ออยู่ในที่สาธารณะท่ามกลางคนเยอะๆ หรือมีความรู้สึกกลัว กังวลใจแบบไม่รู้สาเหตุบ่อยๆ ลองทำตามคำแนะนำ “วิธีรับมือกับอาการ Panic Attack ดังต่อไปนี้”

วิธีรับมือกับอาการ Panic Attack (โรคขี้กลัว โรคขี้ตกใจ) เบื้องต้น

วิธีรับมือกับอาการ Panic Attack

1 – ฝึกหายใจเข้าออกลึกๆอย่างต่อเนื่อง เพราะจะช่วยให้เราเกิดความรู้สึกผ่อนคลายขึ้น เมื่อเราผ่อนคลาย อาการกลัว ประหม่าตกใจ ก็จะค่อยๆดีขึ้น ทำให้เราเริ่มควบคุมตัวเองได้

รู้ไหมว่าการฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ จะช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ได้เพิ่มขึ้น ฮอร์โมนเอนดอร์ฟินเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ช่วยทำให้ผ่อนคลาย และยังช่วยลดอาการเจ็บปวดได้อีกด้วย

2 – กลิ่นลาเวนเดอร์ (Lavender) ช่วยลดความวิตกกังวลได้

กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยช่วยให้ผ่อนคลายได้อย่างมากมายเลยนะคะ โดยเฉพาะกลิ่นหอมเย็นละมุลของดอกลาเวนเดอร์ มีคุณประโยชน์ช่วยลดความเครียด คลายความวิตกกังวล และยังช่วยให้หลับได้ดีขึ้น

ใครที่รู้สึกหงุดหงิด วิตกกังวล นอนไม่หลับ น้ำหอมกระจายกลิ่นจากดอกลาเวนเดอร์น่าจะพอช่วยได้นะคะ

3 – เดินเล่น หรือ ออกกำลังกายเบาๆ อยู่เสมอ

รู้ไหมคะว่าเพียงได้ออกไปเดินเล่นบ่อยๆก็ช่วยลดความเครียดได้อย่างมากมายเลยนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการเดินท่ามกลางธรรมชาติ อาทิ เดินในสวนดอกไม้ ท่ามกลางต้นไม้สีเขียว ทุ่งหญ้า ป่าไม้ รวมถึง ริมคลอง ยิ่งจะช่วยทำให้สมองของเราปลอดโปร่งผ่อนคลายได้อย่างมากมาย ช่วยลดความกลัว ความกังวลต่างๆได้เป็นอย่างดี บางคนอาจไม่สะดวกที่จะออกไปเดินนอกบ้าน การออกกำลังกายเบาๆ อาทิ การเล่นโยคะ รวมถึงการฝึกพิลาทิส เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความผ่อนคลายได้อย่างมากมายเลยทีเดียว

4 – เปิดใจกับคนรอบข้างเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกของเรา

หลายคนที่เป็นโรค Panic Attack มักจะไม่ค่อยบอกปัญหานี้ให้กับคนรอบข้างได้รับรู้ เพราะอายที่จะพูดถึงปัญหานี้นั้นเอง แต่จริงๆแล้วถ้าเรากล้าที่จะบอกเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมชั้น หรือคนที่อยู่รอบๆตัวเราได้รับรู้ว่า เราเป็นคนขี้กลัว ขี้ตกใจง่าย ประหม่าในทุกเรื่อง จะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น ถือเป็นการปลดล็อคอีกวิธีหนึ่ง อย่ากลัวที่จะบอกคนอื่นว่าเรามีอาการ Panic Attack นะคะ

5 – หลับตาให้สนิท

ในเวลาที่กำลังเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด จนทำให้เราควบคุมตัวเองไม่ได้ ตื่นตระหนกตกใจกลัว วิธีสุดเบสิกที่จะช่วยให้เราก้าวผ่านช่วงเวลานี้ได้เร็วที่สุดคือ การหลับตาให้สนิท หายใจเข้าออกลึกๆ แล้วบอกกับตัวเองว่าเดี๋ยวมันก็ผ่านไปแล้ว

จะเห็นได้ว่าวิธีรับมือกับอาการ Panic Attack เบื้องต้น คือการทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด เพราะเมื่อร่างกายผ่อนคลาย สมองของเราก็จะปลอดโปร่ง ทำให้เรามีสมาธิ มีสติในการควบคุมตัวเองมากขึ้น

การออกไปทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ ไปทำกิจกรรมกับคนแปลกหน้าบ่อยๆ จะช่วยลดอาการ Panic Attack เมื่อต้องพูดต่อหน้าคนเยอะๆ พรีเซ็นต์งานหน้าชั้นเรียน หรือ ต้องพูดในที่ประชุมได้นะคะ

 

ชอบบทความนี้หรือเปล่าค่ะ?

คลิกที่รูปหัวใจเพื่อโหวต!

คะแนนเฉลี่ย / 5. คะแนนโหวต:

ยังไม่มีโหวต! โหวตเป็นคนแรก

คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ไหมค่ะ...

โปรดติดตามเราทางโซเซียลมีเดีย!

ขอโทษที่คุณไม่ชอบบทความนี้!

ให้เราพัฒนาบทความนี้ให้ดีขึ้น!

เราจะสามารถทำให้บทความนี้น่าสนใจอย่างไร?

Subscribe
Notify of
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x