Ashwagandha คือ? มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง?

คุ้นกันไหมค่ะสมุนไพรตัวนี้ Ashwagandha (โสมอินเดีย) หลายคนอาจเคยเห็นบนฉลากอาหารเสริม รวมถึงยารักษาโรคต่างๆ Ashwagandha คือ? กินอย่างไร? และมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้านใดบ้าง ไปส่องประโยชน์แบบจัดเต็มกันได้เลยนะ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่หมดความต้องการทางเพศ ไม่อยากมีเซ็กส์ หรือ ไม่เคยถึงจุดสุดยอดเลย ยาสมุนไพรตัวนี้ช่วยเพิ่มความต้อการทางเพศได้ด้วยนะ

Ashwagandha คือ

Ashwagandha (โสมอินเดีย) คือสมุนไพรใช้ในอายุรเวท สมุนไพรชนิดนี้เป็นที่รู้จักมายาวนานหลายพันปีมาแล้ว Ashwagandha หรือ โสมอินเดียถือเป็นยาแผนโบราณ (Traditional medicine) ที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคต่างๆอย่างแพร่หลายในประเทศอินเดีย รวมไปถึงประเทศในแถบตะวันออกกลาง ปัจจุบัน สมุนไพรชนิดนี้ถูกนำมาสกัดใช้เป็นส่วนผสมทั้งในอาหารเสริมและยารักษาโรคประเภทต่างๆ Ashwagandha คือ? มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง?

Ashwagandha คือ?

Ashwagandha (โสมอินเดีย) คือพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย, แถบตะวันออกกลาง และบางส่วนของแอฟริกา รากและผลของพืชชนิดนี้ถูกนำมาใช้ในการบำบัดโรคต่างๆหลายชนิด รากสดๆจะมีกลิ่นเหมือนม้า ซึ่งกลิ่นของมันจะช่วยเพิ่มพลังและความแข็งแกร่งให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี จึงทำให้พืชชนิดนี้ถูกยกให้เป็นตำนานยาอายุรเวทของชาวอินเดียมาจนถึงทุกวันนี้ และยังถือเป็นหนึ่งในยาสมุนไพรเก่าแก่ของประเทศอินเดียอีกด้วย

Ashwagandha มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?

Ashwagandha มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

มีหลายงานวิจัยระบุว่า Ashwagandha หรือ โสมอินเดีย เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย อาทิ

1 – ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย จึงถูกนำมาใช้บำรุงร่างกายให้กับนักกีฬา

มีงานวิจัยซึ่งได้ทดลองกับผู้หญิงและผู้ชาย โดยมีการให้กินอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของโสมอินเดียทุกวัน ในระหว่างออกกำลังกาย พบว่าสมรรถภาพทางกายของคนกลุ่มนี้ดีขึ้น ร่างกายสามารถลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ช่วยลดอาการช่วยเมื่อยล้าระว่างออกกำลังกาย ทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น

2 – ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone)

โดยมีการทดลองกับผู้ชายอายุระหว่าง 40-70 ปี และเป็นกลุ่มที่มีน้ำหนักตัวเกินปกติ มีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่กระปรี้กระเปร่า ( ฮอร์โมนเพศชายหรือ Testosterone จะหลั่งออกมาน้อยลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อผู้ชายหลายประการ อ่านหลากวิธีเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย ) หลังจากที่คนกลุ่มนี้กินต่อเนื่อง 8 สัปดาห์ พบว่า ระดับ DHEAs ( Dehydroepiandrosterone sulfate ) เพิ่มมากขึ้น กว่าอีกกลุ่มที่นักวิจัยให้กินยาหลอก

3 – ช่วยคลายเครียด ลดความวิตกกังวล

Ashwagandha หรือ โสมอินเดีย เป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้บำบัดความเครียดกันอย่างแพร่หลาย มายาวนานหลายพันปีแล้ว ซึ่งเขามีการทดลองในเรื่องนี้มาแล้วนะ โดยนักวิจัยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองกินสมุนไพรสกัดจากโสมอินเดียในปริมาณ 250 หรือ 600 มิลิกรัม เป็นเวลาต่อกัน 8 สัปดาห์ พบว่า อาการวิตกกังวลของคนกลุ่มนี้ค่อยๆดีขึ้น และยังพบว่าพวกเขานอนหลับได้ดียิ่งขึ้น อย่างที่รู้ๆกันว่าถ้าเรานอนอย่างเพียงพอ หลับลึกอย่างมีคุณภาพ จะช่วยทำให้ร่างกายสามารถหลั่งฮอร์โมนได้ดีขึ้นเช่นเดียวกัน

4-  ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

มีข้อมูลที่ระบุว่ายาสมุนไพร Ashwagandha อาจมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่เรื่องนี้ยังมีผลงานวิจัยรองรับไม่มากนัก ซึ่งมีข้อมูลจากการทดลองในคลินิก โดยมีการให้กลุ่มคนที่มีปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดสูง รับประทานยาที่มีส่วนผสมของโสมอินเดีย พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือด, อินซูลิน และ hemoglobin A1c (HbA1c) ลดลง  ทั้งนี้ยังมีสมุนไพรชนิดอื่นๆ และสารอาหารอีกหลายอย่างที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ อย่างเช่น ไฟเบอร์ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5 – ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศในผู้หญิง

มีงานวิจัยทางคลินิกพบว่า Ashwagandha หรือ โสมอินเดีย มีส่วนช่วยทำให้ความต้องการทางเพศของผู้หญิงเพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำหล่อลื่นให้หลั่งออกมามากขึ้น ช่วยทำให้ผู้หญิงถึงจุดสุดยอด (Orgasm) ได้เร็วและดีขึ้น และยังมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนบางชนิด ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับอารมณ์ที่ผ่อนคลายของผู้หญิงอีกด้วย

Ashwagandha (โสมอินเดีย) กินอย่างไร?

Ashwagandha-โสมอินเดีย

ในอดีตชาวอินเดียจะนิยมนำรากและผลมาใช้ในการบำบัดโรคต่างๆ แต่ในปัจจุบัน ยาสมุนไพร Ashwagandha ถูกสกัดมาใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเสริมและยารักษาโรคหลายชนิด ซึ่งสามารถพบได้ทั้งรูปแบบแคปซูล, เม็ด และแบบเป็นผง ซึ่งวิธีการรับประทานและปริมาณก็จะแตกต่างกันออกไป ก่อนที่จะรับประทานอาหารเสริมหรือยาเพื่อรักษาโรคใดๆก็ตาม เราควรขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ เพื่อความปลอดภัยและปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกายของเรา แม้ Ashwagandha (โสมอินเดีย) จะเป็นสมุนไพร แต่ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

อ้างอิงข้อมูลจาก:

www.healthline.com

www.medicalnewstoday.com

www.forbes.com

 

ชอบบทความนี้หรือเปล่าค่ะ?

คลิกที่รูปหัวใจเพื่อโหวต!

คะแนนเฉลี่ย / 5. คะแนนโหวต:

ยังไม่มีโหวต! โหวตเป็นคนแรก

คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ไหมค่ะ...

โปรดติดตามเราทางโซเซียลมีเดีย!

ขอโทษที่คุณไม่ชอบบทความนี้!

ให้เราพัฒนาบทความนี้ให้ดีขึ้น!

เราจะสามารถทำให้บทความนี้น่าสนใจอย่างไร?

Subscribe
Notify of
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 www.tipsfitness.net จำกัด
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x