Passive exercise คืออะไร? ทำอย่างไรบ้าง พร้อมวีดีโอสาธิต

ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง รวมถึงผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้เอง เหมาะกับการออกกำลังกายแบบ Passive exercise เพราะมีส่วนช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยลดอาการบวม อาการปวดกล้ามเนื้อ Passive exercise คืออะไร?

Passive exercise คืออะไร

วันนี้เรามีรูปแบบการออกกำลังกายที่เรียกว่า Passive exercise มาแนะนำกันคะ Passive exercise คืออะไร? มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร เหมาะกับใคร และมีท่าฝึกอะไรบ้าง ไปดูกันเลยคะ

Passive exercise คือ?

Passive exercise คือการออกกำลังกายที่มีคนอื่นคอยช่วยเราเคลื่อไหวร่างกาย เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ รวมถึงข้อต่อ ไปยังทิศทางต่างๆ โดยที่เราอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไรเลย ซึ่งตรงกันข้ามกับ Active Exercises โดยสิ้นเชิง Active Exercises คือการออกกำลังกายที่เราต้องเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตัวเอง

Passive exercise มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ROM (Passive range of motion exercises) คือ การเคลื่อนไหวร่างกายโดยอาศัยแรงจากภายนอกมากระทำ อธิบายแบบนี้หลายคนอาจจะงง สรุปแบบไม่ซับซ้อน ก็คือ เราจะอาศัยแรงจากอุปกรณ์ หรือ แรงจากผู้บำบัด มาทำให้ร่างกายบางส่วนของเราเคลื่อนไหว เช่น พยาบาลจับแขนผู้ป่วยให้เหยียดตรงไปข้างหน้า หรือ ด้านข้าง เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการเคลื่อนไหว

Passive exercise มีประโยชน์อย่างไร?

Passive exercise มีประโยชน์อย่างไร

  • ช่วยลดอาการปวดตามข้อต่างๆที่เกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดบริเวณขา และลดอาการบวมบริเวณข้อเท้า
  • ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และข้อต่อบริเวณต่างๆ อาทิ  ข้อเท้า หัวเข่า กระดูกสันหลัง และสะโพก
  • ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น ลดการเกิดแผลกดทับ ลดอาการปวดตามแขน ตามขา ตามกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ
  • ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบหัวใจ สุขภาพหัวใจที่ดีจะช่วยสูบฉีดเลือดเพื่อนำพาออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้น
  • ช่วยลดอาการตึงของกล้ามเนื้อและข้อต่อ
  • มีส่วนช่วยฟื้นฟูร่างกายจากอาการเจ็บป่วย

Passive exercise เหมาะกับใคร?

Passive exercise เหมาะกับใคร

Passive exercise เหมาะกับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก (Hemiplegia) คือผู้ที่ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือข้างใดข้างหนึ่งของร่างกายได้ รวมถึงผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity) คือ อาการเกร็งกล้ามเนื้อที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท

ในกรณีนี้ ผู้ป่วยจะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตัวเอง ผู้ที่ทำหน้าที่บำบัดจะคอยจับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ อาทิ จับแขน หรือ จับข้อเท้าให้เคลื่อนไหวไปยังทิศทางที่ต้องการ

การเคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยกระตุ้นให้ระบบเลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น เมื่อเลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น จะสามารถลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างสะดวก ระบบไหลเวียนเลือดที่ดี มีส่วนช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด ช่วยลดการสูญเสียเลือดจากบาดแผล และยังช่วยยับยั้งสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย

เมื่อมีการฝึก Passive exercise อย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ป่วยหลายประการในระยะยาว เพราะการฝึกแบบนี้ มีส่วนช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น ช่วยให้มัดกล้ามเนื้อผ่อนคลายและมีความยืดหยุ่น จึงช่วยลดอาการบวมและอาการปวดตามบริเวณต่างๆได้เป็นอย่างดี

แม้การฝึก Passive exercise อย่างต่อเนื่อง จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ แต่ก็ควรได้รับการฝึกโดยผู้ที่มีความชำนาญในด้านนี้ หรือ ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว

ควรฝึก Passive exercise บ่อยแค่ไหน?

ควรฝึก Passive exercise บ่อยแค่ไหน

ผู้ป่วยที่ต้องบำบัดแบบ Passive exercise จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ เพราะสภาพร่างกาย และภาวะการเจ็บป่วยของแต่ล่ะคนแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปจะฝึก Passive exercise ประมาณ 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ความนานในการฝึกแต่ล่ะครั้งจะขึ้นอยู่กับผู้ให้การบำบัด

ข้อเสียของการฝึก Passive exercise คือ

ถ้าฝึก Passive exercise แบบผิดวิธี อาจทำให้กล้ามเนื้อทำงานมากเกินไป หรือ กล้ามเนื้อยืดมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บตามบริเวณข้อต่อและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ หากเกิดอาการดังกล่าวระหว่างฝึกควรแจ้งผู้บำบัด หรือ ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านนี้

วีดีโอสาธิตการฝึก Passive exercise


ก่อนที่จะทำ Passive exercise เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอนะคะ

อ้างอิงบางส่วน

www.mobilitysolutions.co.za

www.flintrehab.com

www.publicdocuments.sth.nhs.uk

ชอบบทความนี้หรือเปล่าค่ะ?

คลิกที่รูปหัวใจเพื่อโหวต!

คะแนนเฉลี่ย / 5. คะแนนโหวต:

ยังไม่มีโหวต! โหวตเป็นคนแรก

คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ไหมค่ะ...

โปรดติดตามเราทางโซเซียลมีเดีย!

ขอโทษที่คุณไม่ชอบบทความนี้!

ให้เราพัฒนาบทความนี้ให้ดีขึ้น!

เราจะสามารถทำให้บทความนี้น่าสนใจอย่างไร?

Subscribe
Notify of
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 www.tipsfitness.net จำกัด
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x